B.Care Medical Center | โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
02 532 4444
ติดต่อสอบถาม 02 532 4444
โรคเบาหวาน
28 มิถุนายน 2020

โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรคที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

สาเหตุ  

สาเหตุของโรคเบาหวานที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มัองค์ประกอบที่สำคัญๆที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเบาหวานได้ดังนี้

1.     พันธุกรรม มักพบโรคนี้ในผู้ที่บิดา มารดา เป็นเบาหวาน
2.     เชื้อโรคหรือยาบางชนิดไปทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนต์ อินซูลิน ได้เพียงพอ
3.     ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน

อาการ

1.     ปัสสาวะบ่อย มีมดตอม
2.     กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยและมาก
3.     รับประทานจุแต่ผอมลงเรื่อยๆ
4.     น้ำหนักลด และ อ่อนเพลีย
5.     เป็นแผลหรือฝีได้ง่าย แต่หายยาก
6.     คันผิวหนังตามตัวและอวัยวะสืบพันธุ์
7.     เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ
8.     มือ เท้า ชา
9.     หมดความรู้สึกทางเพศ
10.  ตาพร่ามัว ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ
11.  คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม (เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน-แบบเฉียบพลัน
1.     ติดเชื้อง่าย เช่น เป็นแผล ติดเชื้อ เป็นฝีได้ง่าย การติดเชื้อลุกลามเร็ว แผลติดเชื้อที่เท้า วัณโรคปอดเป็นต้น
2.     ภาวะหมดสติจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมาก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน-แบบเรื้อรัง
1.     หลอดเลือดหัวใจและ เจ็บหน้าอก หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย
2.     หลอดเลือดสมองตีบ  อัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
3.     ตาพร่า ตามัว ตาบอด
4.     ไตอักเสบ ไตวาย
5.     ประสาทอักเสบ ชาปลายมือปลายเท้า
6.     ปัสสวาะลำบาก
7.     หมดความรู้สึกทางเพศ
8.     ท้องผูกสลับท้องเดิน

การดูแลรักษาโรคเบาหวานและการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1.     ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควบคุมปริมาณและชนิดอาหาร งดรับประทานอาหารรสหวานจัด
2.     ควบคุมน้ำหนักอย่าให้น้ำหนักเกินจนอ้วน
3.     ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
4.     หมั่นตรวจน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะ
5.     รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง
6.     งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และอาหารรสเค็ม
7.     ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ
8.     ทำจิตใจให้สบาย
9.     พกลูกอมหรือน้ำตาลติดตัว เพื่อป้องกันอาการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
10.  ไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันทีเมื่อมีแผล หรือมีอาการติดเชื้อ

 

บทความสุขภาพ
Copyright © 2020 Bcaremedicalcenter. All Rights Reserved.