B.Care Medical Center | โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
02 532 4444
ติดต่อสอบถาม 02 532 4444
หน้าแรก / บทความสุขภาพ / ปัจจัยใกล้ตัว...ที่ทำร้ายระบบทางเดินอาหาร
ปัจจัยใกล้ตัว...ที่ทำร้ายระบบทางเดินอาหาร
20 กันยายน 2023

“ระบบทางเดินอาหาร” หรือเรียกย่อว่า ระบบจีไอ (GI system, Gastrointestinal system, หรือ Gastroenterology) ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ มากมาย ได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และตับอ่อน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารมีอะไรบ้าง ?

  • การกินอาหารไม่สะอาด ปรุงดิบ หรือสุกๆดิบๆ หรือ อาหารค้างคืน อาหารแช่แข็งที่ไม่ปรุงให้สุก
  • การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่มากเกินควร รับประทานอาหารรสจัด รับประทานอาหารที่ไม่มีใยอาหาร
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารไม่ตรงต่อเวลา ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหารได้
  • ขาดการสาธารณสุขที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำดื่ม น้ำใช้ อุปโภค บริโภค

อาการสำคัญและพบบ่อยที่สุดของโรคทางเดินอาหาร

  • อาการปวดท้อง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ, เรอ, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, ท้องผูก, อาเจียนเป็นเลือด, อุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
  • อาการตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ไม่ผายลมเมื่อมีลำไส้อุดตัน
  • อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมได้อีกซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น

  • มีไข้ เมื่อเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ
  • ภาวะขาดน้ำเมื่อท้องเสียมาก
  • คลำเจอก้อนในท้อง อาจเกิดจากโรคมะเร็ง หรือเนื้องอก
  • มีน้ำในท้อง ในกรณีเมื่อโรคมะเร็งลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง หรือมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

วิธีการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร แนวทางรักษาเป็นอย่างไร และป้องกันได้อย่างไร ?

  • การรักษาตามสาเหตุ อาทิเช่น
    • การใช้ยาปฏิชีวนะ เมื่อโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • การให้ยาฆ่าเชื้อรา เมื่อโรคเกิดจากติดเชื้อรา
    • การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการผ่าตัดและยาปฏิชีวนะ
    • การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการผ่าตัด อาจร่วมกับรังสีรักษา ยาเคมีบำบัด หรือยารักษาโดยตรง เป็นต้น
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ อาทิเช่น
    • ยาลดไข้ ยาแก้ปวด
    • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เมื่อไม่สามารถทานอาหารได้
    • การให้เลือด เมื่อมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด จนเกิดภาวะซีด เป็นต้น
  • การตรวจคัดกรองด้วยวิธีการส่องกล้อง ปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนพัก ไม่มีแผลผ่าตัด
    • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) สามารถตรวจหาความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น การตรวจคัดกรองด้วยวิธีส่องกล้องควร งดน้ำ งดอาหาร ล่วงหน้า 4 ชั่วโมง
    • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สามารถตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมทางเดินอาหารประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกว่าเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพ
บทความสุขภาพ
Copyright © 2020 Bcaremedicalcenter. All Rights Reserved.