มารู้จักถุงน้ำดีกันก่อนว่ามีหน้าที่อะไร ?
ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะขนาดเล็กเป็นกระเปาะอยู่บริเวณใต้ตับ มีหน้าที่เก็บและผลิตน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กเพื่อเป็นผู้ช่วยในการดูดซึมอาหารประเภทไขมัน เมื่อน้ำดีมีความเข้มข้นผิดปกติ อาจเกิดการตกผลึกและกลายเป็นนิ่วได้
นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร?
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คือก้อนแข็งที่เกิดจากการตกผลึกของสารต่าง ๆ ในน้ำดี เช่น คอเลสเตอรอล เกลือน้ำดี และแคลเซียม นิ่วเหล่านี้อาจมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าเม็ดทรายจนถึงใหญ่เท่าลูกปิงปอง พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
อาการเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแสดงออกมาและจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการตรวจร่างกาย แต่หากก้อนนิ่วไปอุดทางเดินน้ำดี จะเกิดอาการ “ปวดเสียดใต้ชายโครงขวา” หรือ “ปวดจุกท้องแบบบิดเกร็ง” ซึ่งอาจเป็นๆ หายๆ หรือปวดต่อเนื่องร่วมกับอาการอื่น เช่น
การวินิจฉัย
แพทย์จะใช้วิธีต่าง ๆ ในการวินิจฉัยโรค อาทิ การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือบางกรณีอาจใช้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ MRI เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม
การรักษา
การรักษาหลักคือ การผ่าตัดถุงน้ำดีออก ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ซึ่งจะมีแผลเล็กและฟื้นตัวได้เร็ว
*หากไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจใช้ยาเพื่อสลายนิ่ว แต่อาจใช้เวลานานและไม่สามารถใช้ได้กับนิ่วทุกชนิด*
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง
คือ การผ่าตัดนำก้อนนิ่วในถุงน้ำดีออก โดยใช้กล้องขนาดเล็กและเครื่องมือพิเศษสอดผ่านแผลเล็กๆ บนหน้าท้องซึ่งแผลจะมีขนาดเล็กเพียง 1 – 2 ซม. เท่านั้น
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบบ่อย และสามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก การรู้จักอาการ เตรียมพร้อมการดูแลตนเอง และพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีและ ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน
ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข