หากคุณกำลังรู้สึกว่าสายตาของคุณมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือเริ่มมีปัญหาสายตาบางอย่างแต่ไม่สามารถรู้ได้ว่ากำลังจะเป็นอะไรอาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญก่อนเกิดปัญหาหรือโรคอื่นๆ ตามมาอย่ารีรอในการเข้าเช็คสายตา เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงซึ่ง “การตรวจสายตา” เป็นสิ่งที่ควรนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในระยะแรกๆ เพราะการตรวจสายตา จะช่วยเสาะหาความผิดปกติ ประเมินระยะอาการ แนวโน้มต่างๆ ให้คุณสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
การตรวจสายตา คือ อะไร
การตรวจสายตา คือการตรวจประเมินสายตาขั้นพื้นฐานเพื่อดูความสามารถในการมองเห็นทั้งในแง่ของความชัดเจน การทำงานของดวงตา ลักษณะทางกายวิภาคของดวงตาต่างๆ ระดับสายตาการมองในระยะใกล้หรือไกล เช่น ตรวจสายตาสั้น สายตายาว หรือการตรวจสายตาเอียง รวมไปจนถึงสามารถตรวจสุขภาพสายตา เพื่อดูแนวโน้มความผิดปกติและวิเคราะห์วินิจฉัยภาวะหรือโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับดวงตาได้
จุดประสงค์ของการเข้ารับการตรวจสายตา
จุดประสงค์ของการเข้ารับการตรวจสายตา มีดังนี้
วิธีการวัดสายตา
สำหรับการตรวจตาเบื้องต้น จะเริ่มจากการที่จักษุแพทย์ซักประวัติของผู้รับบริการในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการนำที่เกิดขึ้น การใช้ยาประจำตัว ประวัติโรคประจำตัว ประวัติเกี่ยวกับปัญหาสายตาหรือโรคทางตาของสมาชิกในครอบครัว ฯลฯ จากนั้นเมื่อมีการซักประวัติ และสอบถามต่างๆ เบื้องต้นแล้ว ต่อไปจะเริ่มทำการตรวจสายตา ดังนี้
1. การตรวจวัดระดับการมองเห็น (Visual acuity) คือ การวัดสายตาเบื้องต้นว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีระดับการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ หรือระยะไกล ชัดเจนเพียงใด จากการทดสอบดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการตรวจวัดระดับการมองเห็น ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณอ่านแผนภูมิวัดสายตา snellen chart ที่อยู่ห่างออกไปในระยะ 6 เมตร ซึ่งมีลักษณะเป็นชุดตัวเลข 8 แถว ที่มีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละแถว โดยเริ่มวัดสายตาทีละข้าง เพื่อประเมินสายตาที่แท้จริง
2. การตรวจลานสายตา (Visual field) คือ การตรวจวัดลานสายตาเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าผู้เข้ารับการตรวจมีลานสายตาที่ปกติหรือไม่ และค้นหาความผิดปกติที่อาจซ่อนเร้นอยู่ เช่น โรคทางระบบประสาท โรคเส้นประสาทตา โรคต้อหิน หรือจอประสาทตาหลุดลอก เป็นต้น รวมไปจนถึงการประเมินขนาดความกว้างของลานสายตาในแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติจะมีวิธีการตรวจ 3 รูปแบบ ดังนี้
3. การวัดค่าสายตา (Refraction) คือ วิธีวัดสายตาที่จะช่วยประเมินค่าสายตาของผู้เข้ารับการตรวจว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ปัญหาภาวะสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง และมีค่าสายตาอยู่ที่ประมาณเท่าใด โดยวิธีการวัดสายตา ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องอ่านแผนภูมิวัดสายตาที่มีตัวเลข หรือตัวอักษรปรากฏอยู่ ผ่านเครื่องมือที่วัดสายตา ชื่อว่า Phoropter โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการปรับเปลี่ยนเลนส์ให้สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการหักเหแสงของดวงตา เมื่อผู้เข้ารับการตรวจรู้สึกว่า ตนเองสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนสายตาปกติ จะทำให้ได้ค่าสายตา หรือค่าเลนส์ที่สามารถแก้ไขความผิดปกติของสายตานั้นๆได้ ซึ่งสามารถนำค่าสายตาไปเป็นตัวอ้างอิงในการตัดแว่นสายตา หรือเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ได้
4. การตรวจความดันลูกตา (Tonometry) คือ การตรวจวัดความดันที่อยู่ภายในลูกตา เพื่อดูว่าระดับความดันอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่ ซึ่งระดับความดันภายในลูกตา สามารถบ่งบอกแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางตาได้ เช่น ผู้ที่มีค่าความดันลูกตาสูงกว่าปกติ อาจเป็นโรคต้อหิน หรือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบภายในลูกตาได้ ส่วนผู้ที่มีค่าความดันต่ำกว่าปกติ ก็อาจมีจอประสาทตาหลุดลอก ฯลฯ วิธีการตรวจวัดความดันลูกตาจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
5. การวัดความโค้งของกระจกตา (keratometer) เป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ เพราะความโค้งของกระจกตา
มีความสัมพันธ์กับการหักเหแสงที่สะท้อนเข้าสู่ดวงตา หากความโค้งของกระจกตา มีรูปร่างผิดปกติ จะทำให้บุคคลนั้นมีภาวะปัญหาสายตาต่างๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง เป็นต้น การวัดความโค้งของกระจกตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า เคอราโตมิเตอร์ (Keratometer) ส่องแสงเข้าไปสู่บริเวณกระจกตา จากนั้นแพทย์จะทำการวัดความโค้งของกระจกตาจากแสงสะท้อนนั้น
6. การทดสอบการมองเห็นสี คือ การตรวจประเมินเพื่อดูความสามารถในการแยกสี หรือวินิจฉัยภาวะภาวะตาบอดสีของบุคคลนั้นๆ รวมไปจนถึงผู้ที่ต้องการนำผลตรวจสายตาไปสมัครงานในอาชีพที่จำเป็นต้องแยกแยะสีให้ได้ถูกต้อง เช่น คนขับรถ ช่างไฟ ฯลฯ โดยภาวะตาบอดสี สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ความบกพร่องในการแยกสีทุกสี, บกพร่องในการแยกสีแดงกับสีเขียว และบกพร่องในการแยกสีเหลืองกับสีม่วง การทดสอบการมองเห็นสี อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล โดยแบบทดสอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ แบบทดสอบอิชิฮาระ ที่มีลักษณะเป็นวงกลมที่ด้านในมีจุดสีเล็กๆ ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องอ่านตัวเลขและลากเส้นให้ถูกต้อง หากสามารถทำได้ถูกต้องทั้งหมด แสดงว่าสายตาปกติดี
7. การประเมินการทำงานของม่านตา คือ การตรวจการตอบสนองของม่านตาว่ายังสามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่ วิธีการทดสอบ คือ แพทย์จะนำไฟฉายมาส่องตาผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของม่านตา หากม่านตามีการหดลงขณะที่แสงเข้ามากระทบ แสดงว่าการทำงานของม่านตายังปกติดี แต่ถ้าหากม่านตาไม่มีการตอบสนอง หรือเกิดการขยายใหญ่ขึ้น แสดงว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น
8. การตรวจลักษณะของดวงตา เป็นการตรวจทั้งส่วนด้านหน้าและด้านในของดวงตา ว่ามีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งส่วนที่จะประเมิน ได้แก่ เปลือกตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา กระจกตา บริเวณตาขาว ม่านตา เลนส์ตา รวมไปจนถึงส่วนด้านในอย่าง น้ำวุ้นตา ส่วนของประสาทตาต่างๆ การตรวจลักษณะของดวงตา หากเป็นส่วนที่อยู่ภายนอก แพทย์มักจะใช้ไฟฉายในการตรวจดูความผิดปกติต่างๆ แต่ถ้าหากเป็นส่วนที่อยู่ด้านใน แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Direct ophthalmoscope ในการส่องเข้าไปเพื่อตรวจดูอย่างละเอียด
9. การตรวจประสาทตา คือ การตรวจประเมินส่วนต่างๆของประสาทตา เช่น จอประสาทตา เส้นประสาทตา ขั้วประสาทตา จุดรับภาพ เป็นต้น ซึ่งสามารถที่จะบ่งชี้ได้ถึงโรค หรือภาวะต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม เส้นเลือดประสาทตาอุดตัน เกิดภาวะจอประสาทตาหลุดลอก โรคต้อหินฯลฯ ในการตรวจประสาทตา แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Optical Coherence Tomography หรือเรียกย่อๆ ว่า OCT ในการถ่ายภาพตัดขวางของจอประสาทตา เพื่อดูความหนาของชั้นจอประสาทตา และความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว ไม่ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจรู้สึกเจ็บ
10. การตรวจลานสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ CTVF เพื่อตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทตา ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการมองเห็นแบบหนึ่ง ช่วยวินิจฉัยโรคต้อหิน โรคของเลนส์ประสาทตา และโรคของระบบสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็นพร้อมติดตามการรักษา
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจสายตา มีดังนี้
การตรวจสายตาสำหรับเด็ก
การตรวจสายตาในเด็ก เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น เด็กมักไม่สามารถเข้าใจ หรือสื่อสารออกมาได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับดวงตาของเขา ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัว มีปัญหาทางการเรียนรู้เรื่องต่างๆ หรือผลการเรียนตกลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ ดูแล รวมถึงคอยสังเกตพฤติกรรม อาการต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถพาเด็กหรือบุตรหลานของท่าน เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งลักษณะอาการที่เป็นสัญญาณให้เข้ารับการตรวจสายตาสำหรับเด็ก มีดังนี้
การตรวจสายตาสำหรับผู้สูงอายุ
การตรวจสายตาสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากในวัยสูงอายุ เป็นวัยที่มักเกิดความเสื่อมในส่วนต่างๆขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่วนใหญ่จึงมีปัญหาสายตาเยอะ รวมไปจนถึงการเกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตาขึ้น ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด ค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ รวมไปจนถึงแนวโน้มการเป็นโรคต่างๆ เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจสายตา ควรจะต้องมีการตรวจโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ดังนี้
โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มักพบในผู้สูงอายุ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสายตา
ก่อนเข้ารับการตรวจสายตา จะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน โดยวิธีการเตรียมตัว มีดังนี้
การตรวจสายตา ควรตรวจบ่อยแค่ไหน
“การตรวจสายตา ควรตรวจบ่อยแค่ไหน?” โดยปกติแล้ว หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มการเป็นโรค ภาวะปัญหาทางสายตา หรือไม่ใช่ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่ควรเข้ารับการตรวจสายตาทันที ก็อาจแบ่งการเข้ารับการตรวจตามช่วงอายุของตนเองได้ ดังนี้